เห็นช่วงนี้ให้ความสนใจกันเรื่องคนที่ประมูลได้ 4G คลื่น900MHzกันมาก ส่วนตัวผมเลยอยากเสริมไว้มุมนึงครับว่า ความน่ากลัวของธุรกิจ telco ในระยะยาวอาจไม่ใช่การประมูลคลื่นได้หรือไม่ อย่างที่หลายคนโวยวายว่าจะหนีจากดีแทคที่ประมูลสองรอบแล้วยังไม่ได้เลยซักดอก แต่เป็น disruptive technology หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ cellular data หมดความสำคัญลง ที่ผมจับตามองอยู่ตอนนี้คือ…
WiMAX
เป็นรุ่นพัฒนาต่อของ wifi ที่ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 4G และส่งได้ไกลถึง 2km อันนี้ผมว่า telco ทั้งหลายน่าจะเล็งไว้แล้วว่าจะเอามาให้บริการมือถือเริ่มมา เพราะใช้โครงสร้างพื้นฐานดั้งเดิมของ telco ปรับมาให้บริการได้

Peer-to-peer communication
หรือการสื่อสารกันโดยไม่ใช้เสากลางหรืออาศัยสัญญาณของ telco นึกภาพ walky talky ไว้ครับประมาณนั้นแหละ มันยังไม่ค่อยมีใครสนใจพัฒนาเพราะยังลำบาก แต่ถ้าค่าบริการ telco แพงไปหรือเกิดเหตุการณ์ตัดสัญญาณมือถือแบบฮ่องกงตอนประท้วงจีนบ่อยๆ จนคนมาใช้ Firechat app แล้วเห็นความดีของมัน สิ่งนี้แหละอาจกลับมาทำร้าย telco ที่ based on สัมปทานและแก้เผ็ดภาครัฐที่ชอบเข้ามายุ่งข้อมูลส่วนตัวของประชาชนดีนัก
Tech giant disruption

พวก Google Facebook Apple ตอนนี้มันโตมากจนเริ่มนิ่งแล้ว mission ใหญ่ร่วมกันของทั้งสามเจ้าไม่ใช่การดึงให้คนที่ใช้ smartphone อยู่แล้วมาใช้บริการตัวเอง แต่คือการสร้างผู้ใช้งาน internet รายใหม่ในประเทศด้อยพัฒนา โครงการทั้ง internet.org Project Loon ล้วนมุ่งไปในทางนี้ แถม Apple เริ่มแพรมๆแล้วว่ากำลังทำ Apple sim ที่ใช้ sim เดียวเที่ยวทั่วโลกฝังมาใน iPhone ในไม่ช้า ถ้าสิ่งเหล่านี้มาเร็ว ปรากฎการณ์ “Uncarrier” จะยิ่งเร็วขึ้นครับ


เพราะงั้นการประมูลได้ในวันนี้อาจไม่ใช่เรื่องดีก็ได้ถ้าราคาที่ประมูลได้มาแพงเกินจนหารายได้มาทำให้คุ้มทุนได้ช้าเกินกว่าการมา disruptive tech เหล่านี้ หรือประมูลไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเจ๊งในวันสองวัน อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำที่มีเงินสดติดปลายนวมไว้เตรียมลงทุนปรับตัวให้ทันกับสิ่งที่ tech company และ startups กำลังเพาะบ่มมาเปลี่ยนโลกการสื่อสารในอนาคตอันที่ไม่ไกลจากนี้เท่าไหร่เลย